วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาษีอากร

ภาษีอากร



การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยสุโขทัย
                ภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นตัวเงินเสมอไป คือเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่จะเก็บอย่างใดได้สะดวก  เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้น ในการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งเป็นสถานที่คอยดักเก็บในสถานที่ที่สะดวก โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะเป็นที่คอยเก็บจังกอบสินค้าทั่วไป ไม่เฉพาะเพียงการนำเข้าและขนออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้นเพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน ขนอนตลาด เป็นต้น


การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.จังกอบ หรือ จกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า
2.อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
3.ส่วย    -สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็น
ค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ
             -เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล
4.ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อมิให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ฤชาที่สำคัญได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางการศาล


การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้
-  ภาษีไม้สีสุก                                                      -  ภาษีน้ำตาลอ้อย              -  ภาษีเกวียน โคต่าง
-  ภาษีไต้ชัน                                                        ภาษีฟืน                            -  ภาษีไม้รวก
-  ภาษีปอ                                                             -  ภาษีเตาตาล                      -  ภาษีปูน
ภาษีฝาง                                                             -  ภาษีไม้ค้างพลู                -  ภาษีสำรวจ       
-  ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)            -  ภาษีไม้ต่อเรือ                 -  เรือจ้างทางโยง      
-  ภาษีไม้แดง (เก็บจากผู้ขาย)                           -  ภาษีไม้ซุง                        -  ภาษีไม้ไผ่ป่า
ภาษีเกลือ                                                          ภาษีฝ้าย                           -  ภาษีน้ำตาลทราย
-  ภาษีน้ำมันมะพร้าว                                         -  ภาษีเนื้อแห้ง                   -  ภาษีกระแซง   
-  ภาษีน้ำมันต่างๆ                                               -  ภาษีคราม                        -  ภาษีน้ำตาลหม้อ
ภาษีกะทะ                                                         -  ปลาแห้ง                          -  ภาษีจาก
-  ภาษีต้นยาง                                                       -  ภาษีเยื่อเคย                      -  ภาษียาสูบ
                -  ภาษีพริกไทย (เก็บจากผู้ซื้อลงสำเภา)                                                                                       
ภาษีพริกไทย (เก็บจากชาวไร่ที่ปลูกพริกไทย)        
ภาษีจันอับ ไพ่ เทียนไขเนื้อ  และขนมต่างๆ           
บ่อนเบี้ย หวย ก.ข. ภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บของลงสำเภา)
ภาษีของต้องห้ามหกอย่าง (ได้แก่ อากรรังนก, ไม้กฤษณา, นอแรด, งาช้าง, ไม้จันทร์, ไม้หอม)
ในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกอากรซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 2 ชนิดคือ อากรรักษาเกาะ และอากรค่าน้ำ


การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 4
                ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวต่างประเทศเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ได้ส่งเซอร์จอห์น เบาริ่ง เจ้าเมืองฮ่องกง เป็นราชฑูตเชิญพระราชสาส์น เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในปีพ.ศ. 2397 ทั้งนี้โดยมีข้อความของสนธิสัญญาทางด้านภาษีที่สำคัญประการหนึ่งคือ ให้มีการยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือที่เก็บตามสัญญา ฉบับปี พ.ศ. 2369 โดยให้เก็บภาษีขาเข้าแทน และให้เก็บในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ผลของสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบที่ต้องเลิกเก็บค่า ธรรมเนียมสินค้าขาเข้าขาออกอย่างแต่ก่อน ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลไทยจำเป็นต้องยอมทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับประเทศในแถบยุโรปอีกหลายประเทศ เพราะขณะนั้นประเทศในแถบยุโรปมีแสนยานุภาพด้านกองทัพมาก   ดังนั้นเพื่อให้เป็นการคงรักษาเอกราชไว้ รัฐบาลจึงจำต้องทำสนธิ สัญญาดังกล่าว รวมทั้งรัฐบาลไทยต้องยอมให้นานาประเทศมีการซื้อขายสินค้ากับราษฎรได้อย่างเสรี ทั้งนี้โดยให้เสียภาษีตามพิกัดอัตราที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทำให้ผลประโยชน์รายได้ภาษีของรัฐบาลตกต่ำลงเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลในขณะนั้นจึงขาดแคลนเงินทุนเพื่อนำมาทำนุบำรุงให้ทันกับความเจริญของบ้านเมือง  จึงได้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ขึ้นอีก 14 ประเภท รวมทั้งได้นำภาษีเดิมที่เลิกจัดเก็บมาใช้ในการจัดเก็บใหม่ ดังนี้
- กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีที่ตั้งขึ้นใหม่ มี 14 ประเภท คือ
    1.  ภาษีฝิ่น        2.  ภาษีสุกร          3.  ภาษีปลาสด                4.  ภาษีปลาทู         5.  ภาษีไหม
    6.  ภาษีขี้ผึ้ง      7.  ภาษีผ้า             8.  ภาษีหม้อหวด            9.  ภาษีถัง              10.  ภาษีเตาหล่อ             
   11.  ภาษีมาดเรือโกลน     12.   ภาษีแจว พาย โกลน      13.  อากรพนัน      14.  อากรมหรสพ
- นำภาษีอากรที่ยกเลิกในรัชกาลที่ 3 กลับมาใช้ใหม่ 2 ประเภท คือ
   1.  อากรค่าน้ำ                 2.  อากรรักษาเกาะ


การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 5
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชปรารภว่า เงินภาษีอากรอันเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน จัดเก็บกันไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายรั่วไหลไปมากมาย ในปี พ.ศ. 2416 จึงได้ตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 และได้โปรดเกล้าตั้งสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อเป็นสำนักงานกลางสำหรับเก็บเงินผลประโยชน์รายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ในที่แห่งเดียว มิให้แยกย้ายกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ดังที่เคยเป็นมาแต่ก่อน โดยให้หน่วยงานราชการทุกแห่ง นำส่งเงินผลประโยชน์เข้าสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นรายได้แผ่นดิน ให้มีพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีผลประโยชน์แผ่นดิน และตรวจตราการเก็บภาษีอากรของหน่วยงานต่างๆให้เป็นไปอย่างรัดกุม ไม่รั่วไหลดังแต่ก่อน ซึ่งนับเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังในปัจจุบัน



การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชการที่ 7 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
                เดิมในตอนต้นรัชกาลที่ 7 การจัดเก็บภาษีอากรยังคงคล้ายคลึงกับในสมัยก่อน ภายหลังจากที่คณะราษฎร์ ได้มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการออกพระราชบัญญัติในการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ ดังนี้
1.  พระราชบัญญัติภาษีเงินเดือน พ.ศ. 2475
                2.  พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475
                3.  พระราชบัญญัติภาษีการค้า พ.ศ. 2475
                4.  พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พ.ศ. 2475
                5.  พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
                6.  พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและประกันภัย พ.ศ. 2476
                7.  พระราชบัญญัติภาษีอากรมรดกและอากรทางรับมรดก พ.ศ. 2476
                ต่อมารัฐบาลในขณะนั้น มีนโยบายนำลัทธิชาตินิยมมาใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและได้เน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของภาษีด้วยการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากการปล่อยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจตกอยู่ในมือของต่างชาติ รวมทั้งได้มีการวางแนวทางในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษีของประชาชน
โดยกระทรวงการคลังได้มีการออกพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2482
นับแต่นั้นมา ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประมวลรัษฎากรหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2496  ได้มีประกาศใช้ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 แก้ไขหลักการจัดเก็บจากเดิมอย่างมากมาย โดยได้ยกเลิกภาษีโรงค้า ภาษีการซื้อข้าว ภาษีการซื้อน้ำตาล ภาษีโรงแรมและภัตตาคาร
ภาษีธนาคาร เครดิตฟองซิเอร์ การออมสิน และการะประกันภัย และได้จัดเก็บภาษีอากรประเภทใหญ่ๆ ดังนี้คือ
1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา           2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล                    3.  ภาษีการค้า
4.  อากรมหรสพ                                 5.  ภาษีป้าย                                          6.  อากรแสตมป์
7.  ภาษีบำรุงท้องที่                             8.  ภาษีการซื้อโภคภัณฑ์

กฎหมายประมวลรัษฎากร ได้ถูกแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากรนั้น มีทั้งการยกเลิกภาษีที่ไม่เหมาะสม การเพิ่มภาษีประเภทใหม่ขึ้น และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความเดิมให้ทันสมัยและรัดกุมยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีกฎหมายภาษีอากรและภาษีอากรที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร ดังนี้
- พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 มีภาษีอากรประเภทต่างๆตามประมวลรัษฎากร ดังนี้
1.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา                          2.   ภาษีเงินได้นิติบุคคล
                                3.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม                                              4.   ภาษีธุรกิจเฉพาะ
                                5.   อากรแสตมป์ 
-   ภาษีอากรตามกฎหมายอื่นได้แก่
                                1.  พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 กำหนดให้จัดเก็บอากรรังนกอีแอ่น
2.พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 กำหนดให้จัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม




               
แหล่งศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
http://www.rd.go.th/publish/286.0.html
http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษี
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1782
http://jiab007.wordpress.com/2011/04/01/พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิ/
http://www.ben2.ac.th/SET_1/DATA_1/E_LEARNING/data_el/Bangkok/BK3.htm


                                                                                                                                                นายณัฐวัฒน์   ซาวคำเขตต์
    ม.5 ห้อง 835 เลขที่ 18
 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น